สารบัญ :
สรุปเรื่องเสียง ฟิสิกส์ ม.5 เทอม 2
เสียงคือคลื่นที่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ หรือที่เรียกว่า “คลื่นกล” และแสดงพฤติกรรมที่ของคลื่นทุกประการ นั่นคือ การสะท้อน การหักเห การแทรกสอด และการเลี้ยวเบน
เสียงในอากาศ จะมีลักษณะการส่งผ่านพลังงานด้วยการสั่นของโมเลกุลอากาศเป็นแบบ “คลื่นตามขวาง”
อัตราเร็วเสียงในอากาศ จะมีค่าที่แปรผันตรงกับ “รากที่สองของอุณหภูมิ” ในหน่วยเคลวิล อย่างไรก็ตาม การคำนวณอัตราเร็วเสียงยังสามารถลดรูปด้วยอนุกรมของเทเลอร์ กลายเป็นสมการ \( v = 331 + 0.6t \) (°C)ซึ่งมีเงื่อนไขจำกัดคือ ค่านี้เป็นค่าประมาณที่สามารถทำได้ในช่วง -50 ถึง 50 องศาเซลเซียส
ความดังและเบาของเสียง เป็นผลมาจากพลังงานถ้าเสียงมีพลังงานมากก็จะมีความดังที่มาก แต่อย่างไรก็ตาม เสียงเป็นคลื่นต่อเนื่องดังนั้นต้องเทียบกับเวลา พลังงานใน 1 หน่วยเวลานั่นก็คือกำลัง ดังนั้นในทางเดียวกันถ้าหากแหล่งกำเนิดมีพลังงานมากก็จะสามารถสร้างเสียงที่ดังได้ ซึ่งเมื่อนำกำลังไปเทียบกับพื้นที่ในการรับเสียงแล้วจะได้เป็นความเข้มเสียง และเช่นเดียวกัน บริเวณที่มีความเข้มเสียงสูงก็จะได้รับเสียงที่ดัง ซึ่งเป็นไปตามสมการ Intensity = Power/Area
และยังมีลักษณะของเสียงอีกมากมายทั้ง เสียงแหลมและทุ้ม คุณภาพของเสียง และบีตที่พี่ได้ทำคลิปสรุปอย่างสั้น ๆ ไว้ที่ วิดิโอ สรุป เรื่อง เสียง ถ้าพร้อมลงรายละเอียดเพิ่มแล้วคลิกโลด
คลิปสรุปเนื้อหา เสียง
สรุป ไฟฟ้าสถิต ฟิสิกส์ ม.5 เทอม 2
ไฟฟ้าสถิต
เนื้อหาของพฤติกรรมของอนุภาคที่มีลักษณะที่อยู่นิ่ง และไม่เน้นการเคลื่อนที่มาก
การที่อนุภาคหรือวัตถุต่าง ๆ มีอำนาจทางไฟฟ้าเกิดจากการรับหรือการสูญเสียอิเล็กตรอน ซึ่งสามารถทำได้ 3 แบบ นั่นคือ การเหนี่ยวนำ การเสียดสี และการสัมผัส
แรงทางไฟฟ้าที่เกิดจากประจุกระทำระหว่างกัน จะเป็นไปตามสมการของคูลอมบ์ นั่นคือ
\[ F = k \frac{Q_1Q_2}{r^2} \]
ซึ่งสนามของไฟฟ้านั้นสามารถหาได้จาก
\[ E = FQ \quad \text{หรือ} \quad E = k \frac{q}{r^2} \]
และสิ่งที่ใช้บอกอำนาจทางไฟฟ้าคือ ศักย์ไฟฟ้าที่สามารถคำนวณได้จาก
\[ V = k \frac{q}{r} \]
นอกจากนี้ยังมีการอธิบายงานของประจุ ด้วยสมการ
\[ W = qV \]
และตัวเก็บประจุที่มีค่าการเก็บประจุไปตามสมการ
\[ C = \frac{Q}{V} \]
แล้วเรื่องทั้งหมดนี้สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้จากวิดิโอ สรุป ไฟฟ้าสถิต ฟิสิกส์ ม.5 เทอม 2
คลิปสรุปเนื้อหา ไฟฟ้าสถิต
สรุป ไฟฟ้ากระแสตรง ฟิสิกส์ ม.5 เทอม 2
ไฟฟ้ากระแสตรงเป็นเรื่องราวที่ต่อมาจากไฟฟ้าสถิต เมื่อมนุษย์มีความสงสัยเกี่ยวกับการที่ประจุมีการเคลื่อนที่นั้น จึงเกิดปริมาณที่เรียกว่า “กระแสไฟฟ้า” ขึ้นมา ซึ่งในบทนี้เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าในระบบกระแสตรง
ไฟฟ้ากระแสตรงจะเป็นการอธิบายการทำงานของระบบไฟฟ้าที่มีกระแสไฟ หรือประจุบวกที่เสมือนเคลื่อนที่สวนทางกระแสอิเล็กตรอน
ระบบไฟฟ้านี้จะอยู่ในกฎของโอห์ม นั่นคือ \( V = IR \) และประยุกต์ใช้การต่อวงจรของ \( R \) ที่เปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของเครื่องใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันของเรา ซึ่งมีทั้งการต่อแบบอนุกรม ขนานและแบบผสม ที่รอให้เราไปวิเคราะห์ร่วมกันในวิดิโอ สรุป ไฟฟ้ากระแสตรง ฟิสิกส์ ม.5 เทอม 2 ด้านล่างนี้เลย
\[ V = IR \]