(รุ่นพี่รีวิว) วิศวะจุฬา มีกี่สาขา เรียนอะไรบ้าง ใช้คะแนนเท่าไหร่

(รุ่นพี่รีวิว) วิศวะจุฬา มีกี่สาขา เรียนอะไรบ้าง ใช้คะแนนเท่าไหร่

 

สวัสดีค่า พี่ชื่อ ขวัญนุช ตอนนี้อยู่ปี 3 (Intanai 103) วิศวะไฟฟ้าจุฬา อยากมาแชร์เรื่องเส้นทางเข้าวิศวะจุฬาให้น้องๆ ที่สนใจมาเป็นรุ่นน้องวิศวะที่จุฬาด้วยกัน😊

 

อย่างแรกที่พี่อยากจะรีวิวคือการเรียนวิศวะที่นี่รุ่นพี่ดูแล เทคแคร์เราดีมาก ตั้งแต่ปี 1 มีกิจกรรมต่างๆ ให้ทำมีตรงไหนสงสัยในเรื่องการเรียน การใช้ชีวิตในนี้สามารถปรึกษาพี่ๆ ได้ตลอดเลย ไม่มีการบังคับทำกิจกรรมต่าง ๆ สามารถทำอะไรก็ได้อย่างอิสระ มีสถานที่และ facility ที่ครบพร้อม ห้องสมุดห้องอ่านหนังสือ หรือสถานที่เล่นกีฬาต่าง ๆ และที่สำคัญข้าวที่คณะอร่อยมาก5555555555555

 

และที่ไม่พูดถึงไม่ได้คืออาจารย์ที่นี่ใจดี เก่งมาก ๆ  และพร้อมให้ความรู้เราเสมอ สังคมที่นี่ก็ไม่ได้มีการแข่งขันกันเหมือนใครหลายคนคิด เราว่าเพื่อนๆจะช่วยๆ พาเราไปทำสิ่งดีๆ ไปอ่านหนังสือ ไปทำกิจกรรมมากมาย เราอยากชวนน้องๆ มาเป็นส่วนหนึ่งของที่นี่ รับรองว่าจะได้รับประสบการณ์ที่ดีมากๆ อย่างแน่นอน(รุ่นพี่รีวิว) วิศวะจุฬา มีกี่สาขา เรียนอะไรบ้าง ใช้คะแนนเท่าไหร่

ขอแนะนำ 12 สาขาของวิศวะจุฬา

📌วิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)

เหมาะสำหรับน้องๆ ที่สนใจในเรื่องโครงสร้างอาคารหรือสิ่งก่อสร้างต่างๆ และเน้นความสนใจเกี่ยวกับความแข็งแรง ความปลอดภัยในโครงสร้างต่างๆ ควบคุมการก่อสร้าง งานตรวจสอบคุณภาพ การพัฒนาวัสดุก่อสร้าง พี่แนะนำน้องๆ สายลุย ชอบออกไปหน้างาน และชอบทำงานร่วมกับผู้อื่น

 

📌วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering)

เหมาะสำหรับน้องๆ ที่สนใจในเรื่องไฟฟ้าแขนงต่างๆ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ อินเทอร์เน็ต สังคมดิจิตอล พลังงานสะอาด การสื่อสารข้อมูล โทรคมนาคม วัสดุนาโน เทคโนโลยีควอนตัม และรถไฟฟ้า เป็นต้น เป็นสายที่เรียนรู้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆที่เกี่ยวกับไฟฟ้า สาขานี้ขึ้นชื่อว่าเรียน Math เยอะมากถ้าใจรักก็ลุยเลยยย

 

📌วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering)

เหมาะกับน้องๆ ที่สนใจในการออกแบบติดตั้งบำรุงรักษาเครื่องจักร และทำงานเกี่ยวกับเรื่องของไหล และพลังงาน โดยน้องๆ จะได้ฝึกประดิษฐ์ ทำเครื่องกลหรือหุนยนต์ที่เราสนใจ ที่แนะนำน้องสายที่ชอบมีความคิดสร้างสรรค์ที่หรือชอบประดิษฐ์และศึกษากลไลต่างๆ ของเครื่องกล

 

📌วิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering)

เหมาะสำหรับน้องๆ ที่สนใจในเรื่องการวางแผนต่างๆ ในอุตสาหกรรม ทั้งงานด้านการผลิต การบริการ การเงิน และการธนาคาร การลงทุน มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ คิดแบบเป็นระบบ โดยน้องจะได้เรียนเหมือนเรียนวิศวะทุกสาขาอย่างละเล็กละน้อยรวมๆ กัน เหมาะกับน้องที่ถนัดทุกๆ ด้าน และแน่นอนได้นำความรู้ไปใช้อย่างหลากหลายในการทำงานแน่นอน

 

📌วิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering)

เหมาะสำหรับน้องๆ ที่สนใจในเรื่อง การศึกษาด้านการออกแบบและควบคุมกระบวนการผลิตด้านอุตสาหกรรมเคมี เน้นการศึกษาพื้นฐานในวิศวกรรมศาสตร์ และการออกแบบกระบวนการ เรียนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำของการผลิตเลย

 

📌วิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม (Mining and Petroleum Engineering)

เหมาะสำหรับน้องๆ ที่สนใจ ในงานด้านการรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดหาวัตถุดิบ แร่ธาตุต่างๆ ให้กับประเทศ สนใจเกี่ยวกับทรัพยากรแร่ที่มีอยู่ใน และอยากพัฒนาต่อยอดในเรื่องทรัพยากร นอกจากนี้ยังสนใจปิโตเลียมในไทยให้สามารถนำมาใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุดได้ทั้งในด้าน วิเคราะห์ปริมาณของแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการออกแบบหลุมปิโตรเลียม วิธีการขุดเจาะ และกระบวนการผลิตน้ำมัน

 

📌วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering)

เหมาะสำหรับน้องๆ ที่สนใจในเรื่อง การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ทั้งมลพิษทางน้ำ ทางอากาศ มีใจรักโลก รักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การศึกษาระบบน้ำทิ้งของโรงงาน น้ำบริโภค การนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

📌วิศวกรรมสำรวจ (Survey Engineering)

เหมาะสำหรับน้องๆ ที่สนใจในเรื่องงานผลิตแผนที่ภูมิประเทศ การรังวัดที่ดิน โดยประยุกต์งานทางด้านอวกาศ และภูมิสารสนเทศ เช่น การทำแผนที่จากโดรน การทำแผนที่จาก GNSS ,remote sensing หรือกลุ่มระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ GIS

 

📌วิศวกรรมโลหการ (Metallurgical Engineering)

เหมาะสำหรับน้องๆ ที่สนใจในสาขาที่เป็นรากฐานในการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการสื่อสาร การขนส่ง อากาศยาน เน้นในเรื่องวัสดุไปจนถึงพื้นผิวของวัสดุโลหะ โลหะที่ต้องในเฉพาะในด้านต่างๆ ทางการแพทย์ Superalloy และเน้นในเรื่องเทคโนโลยีในด้านวัสดุ

 

📌วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering)

เหมาะสำหรับน้องๆ ที่สนใจในเรื่องระบบฮาร์ดแวร์ ซอร์ฟแวร์ สนใจการทำงานของข้อมูล  มีทั้งงานด้าน Cyber Security , Automation Robotic การใช้ data ให้ได้ประสิทธิภาพ Machine learning หรือ AI

 

📌วิศวกรรมนิวเคลียร์ (Nuclear Engineering)

เหมาะสำหรับน้องๆ ที่สนใจใน หลักสูตรเพื่อการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลีย สนใจเทคโนโลยีนิวเคลียและรังสี เช่น การใช้เทคโนโลยีนิวเคลียทางการแพทย์ การเกษตร หรือการใช้พลังงานนิวเคลียเพื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า

 

📌วิศวกรรมแหล่งน้ำ (Water Resources Engineering)

เหมาะสำหรับน้องๆ ที่สนใจในเรื่อง การจัดการทรัพยากรน้ำ ที่เกิดปัญหาขึ้นในปัจจุบัน เช่นน้ำท่วม ภัยแล้ง และภัยพิบัติทางน้ำ หรือสามารถไปในสายงานที่เกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำได้

รีวิวสาขาที่เรียน

และปัจจุบันตัวพี่เองเรียนอยู่ วิศวกรรมไฟฟ้า สาขาควบคุมและสื่อสาร ปี 1-2 จะเน้นเรียนวิชาพื้นฐานเช่น Cal1-3 เคมี ฟิสิกส์ 1-2 Electromagnetic Circuit1-2 และอื่นๆ เมื่อเราขึ้นปี 3-4 จะเน้นสาขาวิชาที่เราเรียนเช่น Linear Control 1-2 Telecommunication(เน้นการเรียนเรื่องการสื่อสาร ส่งสัญญาณ 5G)

 

วิชาที่รู้สึกชอบน่าจะเป็น Linear Control เพราะเราได้เรียนเกี่ยวกับการควบคุมระบบต่าง ๆ ทำอย่างไรให้ระบบเสถียร หรือต้อง Optimize ค่าอย่างไรให้ระบบมีประสิทธิภาพสูงที่สุด

วิดิโอแนะนำของคณะ

ต้องสอบอะไรบ้าง ใช้คะแนนเท่าไหร่

ส่วนตัวพี่ยื่นรอบสาม ตอนนั้นใช้คะแนน

GAT

PAT1

PAT3

 

โดยคำนวณจาก GAT 20% + PAT 1 20% + PAT 3 60% (คะแนนเต็ม 300*20 + 300*20 + 300*60 = 30000) ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัย แต่ละปี แต่ละรอบจะมีมาตรฐานคะแนนที่รับแตกต่างกันไป น้องๆ ต้องคอยอ่านจากระเบียบการให้ดีน้า

ข้อสอบแต่ละวิชา

🔵GAT (ความถนัดทั่วไป) แบ่งเป็น

เชื่อมโยง 150 คะแนน

ภาษาอังกฤษ 150 คะแนน มาจาก 60 ข้อ ข้อละ 2.5 คะแนน

🔵PAT 1 (ความถนัดทางคณิตศาสตร์) แบ่งเป็น

ช้อย 180 คะแนน มาจาก 30 ข้อ ข้อละ 6 คะแนน

เติมคำตอบ 120 คะแนน มาจาก 15 ข้อ ข้อละ 8 คะแนน

🔵PAT 3 (ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์) แบ่งเป็น

ช้อย 240 คะแนน มาจาก 60 ข้อ ข้อละ 4 คะแนน

เติมคำตอบ 60 คะแนน มาจาก 10 ข้อ ข้อละ 6 คะแนน

การเตรียมตัวสอบเข้า

✨วิชาที่ต้องได้เยอะ✨

🔵PAT 3 มีทั้งส่วนฟิสิกส์ เลข เคมี ความรู้พื้นฐานวิศวกรรม โดย

— ฟิสิกส์ คะแนนเยอะสุดเลย ถือว่ามีผลกับการเข้าจุฬามากสุดด้วย ยังไงก็ต้องได้เกินครึ่ง ไม่เก่งก็ต้องเรียน ต้องฝึกจนกว่าจะเก่ง

— เลข ง่ายกว่า PAT 1 และสามัญเยอะครับ ต้องเก็บให้ได้เยอะ ๆ เต็มได้ก็เต็มไปเลย

— เคมี ง่ายกว่า PAT 2 และสามัญเช่นกัน แต่สัดส่วนน้อย

— พื้นฐานวิศวะ สัดส่วนน้อย แต่เป็นการเน้นมองรูปและจินตนาการ

 

สรุปคือ PAT 3 ให้ได้ 200+  คือปลอดภัยแล้ว ติดชัวร์ (ถ้า GAT และPAT 1 ไม่แย่มาก) ที่สำคัญที่สุด PAT 3 เป็น speed test ดังนั้นต้องฝึกการคิดเลขในใจ ทดเลขเร็ว ประมาณตัวเลข เน้นทำ 3 ปีย้อนหลัง (ควรทำมากกว่า 1 รอบ) ตอนทำอย่าลืมจับเวลาด้วย เพราะเวลามันน้อย ทำเสร็จก็ตรวจให้คะแนน ดูว่าพลาดเรื่องไหน ไปเน้นอ่านเรื่องนั้นใหม่ เอาชุดใหม่มาทำ )

 

✨วิชาที่ต้องได้ปานกลาง✨

🔵GAT อังกฤษ ให้ความสำคัญกับการท่องศัพท์มาก ๆ ยิ่งรู้ศัพท์เยอะ ยิ่งทำภาษาอังกฤษได้มาก และ grammar ก็ต้องรู้ ควรท่องศัพท์ไปเรื่อย ๆ หาหนังสือ หาข้อสอบเก่ามาทำ

🔵PAT 1 พยายามเก็บบทออกเยอะ (สถิติ ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน แคลคูลัส log+expo จำนวนจริง ตรีโกณ ลำดับอนุกรม) และข้อง่ายของทุกบท แค่นี้การันตีเกินครึ่งแล้ว ตอนสอบพี่แนะนำให้ทำข้อง่ายก่อน (ข้อที่เห็นโจทย์รู้เลยว่าทำยังไง และเลขไม่ถึกมาก) ส่วนใหญ่ข้อง่ายและไม่ถึกจะอยู่บท ม.5-6 ดังนั้นเปิดข้ามข้อแรก ๆ ของ ม.4 ไปได้เลย (โดยเฉพาะเรขาวิเคราะห์ ภาคตัดกรวย รวมไปถึงตรีโกณ ความน่าจะเป็น) พยายามจำสูตรอย่างเข้าใจ เน้นทำ 3 ปีย้อนหลังเป็นพิเศษเหมือน PAT 3 เลย

ซึ่งตอนนั้นพี่ก็มีคอร์สพี่ตั้วคอยช่วยเหลือในวิชาฟิสิกส์ เป็นอาจารย์และพี่ชายที่คอยให้กำลังใจ และไขข้อสงสัยให้ตลอดจนผ่านมาได้ทุกวันนี้  โดยจะบอกว่าทั้งหมดที่พี่พยายามมามันคุ้มค่ามากกกกกก ถ้าใครมีความฝันอยากเข้าวิศวะเหมือนพี่พี่ก็ขอเป็นกำลังใจให้น้องๆ ทุกคน ขอให้ทำให้เต็มที่ แล้วมาเป็นรุ่นน้องวิศวะจุฬาด้วยกันน้า 💗

มกราคม 25, 2023