Dek67 จดด่วน!! สรุปหัวข้อความรู้รอบตัว TPAT3 ที่น่าจะออกสอบ

Dek67 จดด่วน!! สรุป 30 หัวข้อความรู้รอบตัว TPAT3 ที่น่าจะออกสอบ

 

แม้ว่าในระบบ TCAS67 จะมีการเปลี่ยนแปลงระบบสอบใหม่ แต่ในส่วนของข้อสอบ TPAT3 หรือที่หลายคนคุ้นเคยกันดีในชื่อข้อสอบ PAT3 ยังมีพาร์ทที่วัดความรู้รอบตัวเหมือนเดิม ซึ่งจะอยู่ในส่วนที่ 2 ที่ระบบใหม่เรียกว่าพาร์ทการทดสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์นั้นเอง

 

ซึ่งพี่จะบอกเลยว่าเป็นพาร์ทปราบเซียนของน้องๆ มาหลายต่อหลายรุ่น เพราะถึงแม้จะสูตรเป๊ะ เทคนิคแม่น แต่ถ้าพลาดข่าวสารความรู้รอบตัวด้านวิศวกรรมไปน้องๆ อาจเสียคะแนนไปไม่น้อยเลยน้า วันนี้พี่เลยจะมาลิสต์ 30 หัวข้อที่คิดว่าน่าจะออกสอบในพาร์ทความรู้รอบตัว TPAT3 ของปี 2567 ให้ครับ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย!!!

  1. BlockChain Metaverse NFT

Blockchain คือเทคโนโลยีว่าด้วยระบบการเก็บข้อมูล (Data Structure) ซึ่งไม่มีตัวกลาง แต่ข้อมูลที่ได้รับการปกป้องจะถูกแชร์และจัดเก็บเป็นสำเนาไว้ในเครื่องของทุกคนที่ใช้ฐานข้อมูลเดียวกันเสมือนห่วงโซ่ (Chain) โดยทุกคนจะรับทราบร่วมกัน ว่าใครเป็นเจ้าของและมีสิทธิในข้อมูลตัวจริง

Metaverse มาจากคำว่า Meta กับ Verse รวมแล้วได้ความหมายว่าเป็น “จักรวาลที่อยู่เหนือจินตนาการ” ปรากฏครั้งแรกในนวนิยาย Sci-Fi ที่มีชื่อว่า Snow Crash เป็นโลกอีกใบที่ให้ผู้คนได้เข้ามามีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันผ่านการจำลองเป็นตัวละครต่าง ๆ (Avatar)

NFT คือ เหรียญโทเคนดิจิทัล ที่ทำขึ้นมาเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ ย่อมาจาก  Non Fungible Tokens ลักษณะเฉพาะตัวคือ ไม่มีอะไรมาทดแทนได้ เพราะมีเอกลักษณ์ มักถูกใช้กับงานศิลปะ เช่น รูปภาพ เพลง หนัง ไอเทมเกม ถูกซื้อขายบนตลาด(แพลตฟอร์ม) NFT เท่านั้น ไม่สามารถเทรดบนกระดานคริปโตทั่วไปอย่าง Bitkub หรือ Binance ได้เหมือน Bitcoin หรือ Eth

 

  1. กล้องกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscopy)

กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้ลำอนุภาคอิเล็กตรอนพลังงานสูงในการตรวจสอบวัตถุแทนแสงธรรมดา      เนื่องจากความยาวคลื่นของลำอนุภาคอิเล็กตรอนนั้นสั้นกว่าความยาวคลื่นแสงถึง 100,000 เท่า ทำให้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนสามารถให้ประสิทธิภาพของกำลังขยาย และการแจกแจงรายละเอียดได้เหนือกว่ากล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง  โดยสามารถแยกรายละเอียดของวัตถุที่เล็กขนาด 10 อังสตรอม

 

  1. กล้องโทรทรรศน์อวกาศ james webb และ hubble

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) ตั้งตามชื่อของนักดาราศาสตร์นามว่า เอ็ดวิน ฮับเบิล (Edwin Hubble) เป็นกล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของกระจกปฐมภูมิ 2.4 เมตร ใช้สังเกตการณ์ได้หลายช่วงคลื่น เช่น แสงที่มองเห็น (visible light) อินฟราเรดใกล้ (near infrared) อัลตราไวโอเลต (ultraviolet) โดยสามารถสังเกตวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ไกลที่สุดเท่าที่เคยมีมาซึ่งไกลถึง 13,000 ล้านปีแสง เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ส่งขึ้นสู่อวกาศไปกับยานขนส่งอวกาศดิสคัฟเวอรี เมื่อปี พ.ศ. 2533 ทำให้นักดาราศาสตร์ได้เห็นถึงความอัศจรรย์ของอวกาศในห้วงลึกที่ไม่เคยได้พบเห็นมาก่อน และมีส่วนสำคัญอย่างมากในการศึกษาและการวิจัยทางดาราศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการขยายตัวของเอกภพ

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (อังกฤษ: James Webb Space Telescope; JWST) เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์การนาซา องค์การอวกาศยุโรป (ESA) และองค์การอวกาศแคนาดา (CSA) มีเป้าหมายเพื่อสืบทอดภารกิจของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในการเป็นภารกิจฟิสิกส์ดาราศาสตร์หลักของนาซา กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 2021 มันสามารถสังเกตภาพในช่วงคลื่นอินฟราเรดด้วยความคมชัดและความไวแสงมากกว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

 

  1. ทฤษฎีสัมพันธภาพ

ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Special Relativity ) จะเกี่ยวข้องกับระบบที่มีความเร็วคงที่คือเป็น ระบบที่ไม่มีความเร่ง การอธิบายทฤษฎีนี้อย่างง่ายที่สุดก็เปรียบเทียบให้เห็นว่า เมื่อเรารู้สึกว่าทุกสิ่งกำลังหยุดนิ่งหรือมีความเร็วที่เท่ากันเราไม่สามารถบอกได้ว่าสิ่งใดกำลังเคลื่อนที่ เช่น โลกหมุนรอบตัวเองและรอบดวงอาทิตย์ เรายัง รู้สึกว่าทุกสิ่งกำลังอยู่กับที่ แต่ที่จริงสิ่งที่เรานึกว่าหยุดอยู่กับที่กลับเคลื่อนที่

 

  1. การปฏิวัติอุตสาหกรรม

การปฏิวัติอุตสาหกรรม คือช่วงเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1760 ถึง ค.ศ. 1850 เมื่อการเปลี่ยนแปลงในภาคเกษตรกรรม การผลิต การทำเหมืองแร่ การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยี ส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อสภาพสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมในขณะนั้น การปฏิวัติเริ่มต้นในสหราชอาณาจักร จากนั้นจึงแพร่ขยายไปยังยุโรปตะวันตก อเมริกาเหนือ ญี่ปุ่น จนขยายไปทั่วทั้งโลกในเวลาต่อมา

การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ด้วยการเปลี่ยนผ่านซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบพึ่งพาแรงงานคนและสัตว์เป็นหลักไปเป็นเศรษฐกิจแบบพึ่งพาเครื่องจักรเป็นหลักของสหราชอาณาจักร โดยเริ่มในอุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมแรก อันเป็นผลมาจากการพัฒนากรรมวิธีการหลอมเหล็กและความนิยมในการใช้ถ่านหินโค้กที่แพร่หลายขึ้น การขยายตัวของการค้าขายเป็นผลมาจากการพัฒนาคลอง ถนน และทางรถไฟ

 

  1. EV Car

EV (lectric Vehicle) คือรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100%   เป็นนวัตกรรมที่ใช้เพียงพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียว 100% ในการขับเคลื่อน และสามารถชาร์จไฟได้อย่างสม่ำเสมอเมื่อแบตเตอรี่หมด โดยรถยนต์ไฟฟ้านี้จะมีองค์ประกอบหลักสำหรับการขับเคลื่อนคือ แบตเตอรี่ อุปกรณ์แปลงกระแสไฟฟ้า และมอเตอร์ไฟฟ้า

ขั้นตอนการทำงานของรถยนต์ไฟฟ้า มีจุดเริ่มต้นจากแบตเตอรี่ที่เป็นแหล่งเก็บพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง ต่อมาตัวแปลงกระแสไฟฟ้าจะดึงพลังงานจากแบตเตอรี่ไปเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสสลับและส่งต่อไปยังตัวมอเตอร์เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนรถยนต์

 

  1. G – Force

“G” คือหน่วยของแรงที่เปรียบเทียบเป็นจำนวนเท่ากับแรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำกับวัตถุนั้นๆ วัตถุที่เคลื่อนที่บนพื้นผิวโลก แรงโน้มถ่วงจริงหมายถึงน้ำหนักของวัตถุ (เท่ากับมวลคูณกับความเร่งหรือF = ma.)

 

  1. การลงจอดดาวอังคาร

เหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้การลงจอดบนดาวอังคารเป็นช่วงเวลาสุดระทึกของภารกิจ

1.ชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร โดยมีความหนาแน่นเพียงแค่ 1% ของชั้นบรรยากาศโลก แต่ก็หนาแน่นพอจะเผาไหม้ยานอวกาศที่ไม่ได้มีแผ่นกันความร้อนป้องกัน

2.ร่มชูชีพ ร่มชูชีพบนดาวอังคารมีประสิทธิภาพที่แย่กว่าบนโลกมาก ๆ และนั่นทำให้ร่มชูชีพผืนใหญ่ที่สุดในโลกนั้นถูกนำไปใช้บนดาวอังคาร

3.มนุษย์ไม่สามารถควบคุมได้ นื่องจากระยะทางที่ห่างไกลจากโลก ทำให้กระบวนการลงจอดแทบจะทั้งหมดนั้นถูกโปรแกรมมาล่วงหน้า และคอมพิวเตอร์บนยานต้องควบคุมพร้อมกับแก้ปัญหาด้วยตัวของมันเอง

 

  1. Big Bang

กำเนิดเอกภพเริ่มนับจากจุดที่เรียกว่า”บิกแบง (BigBang)” บิกแบงเป็นชื่อที่ใช้เรียกทฤษฎีกำเนิดเอกภพทฤษฎีหนึ่ง ปัจจุบันบิกแบงเป็นที่ยอมรับมากขึ้นเพราะมีปรากฏการณ์หลายอย่างที่สอดคล้องหรือเป็นไปตามทฤษฎีบิกแบงก่อนการเกิดบิกแบงเอกภพเป็นพลังงานล้วนๆ ภายใต้อุณหภูมิที่สูงยิ่ง จุดบิกแบงจึงเป็นจุดที่พลังงานเริ่มเปลี่ยนเป็นสสารครั้งแรก เป็นจุดเริ่มต้นของเวลาและเอกภพ

ปัจจุบันเอกภพประกอบด้วยกาแล็กซีจำนวนเป็นแสนล้านแห่ง ระหว่างกาแล็กซีเป็นอวกาศที่เวิ้งว้างกว้างไกลเอกภพจึงมีขนาดใหญ่มากโดยมีรัศมีไม่น้อยกว่า 15,000 ล้านปีแสง และมีอายุประมาณ 15,000 ล้านปีโดยเป็นทฤษฎีที่อธิบายถึงการระเบิดใหญ่ที่ทำให้พลังงานส่วนหนึ่งเปลี่ยนเป็นเนื้อสาร มีวิวัฒนาการต่อเนื่องจนเกิดเป็นกาแล็กซี เนบิวลา ดาวฤกษ์ ระบบสุริยะ โลก ดวงจันทร์ มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ

 

  1. หลุมดำ

หลุมดำคือวัตถุที่หนาแน่นที่สุดอย่างหนึ่งในเอกภพ เมื่อมีมวลจำนวนมากมารวมตัวกันอยู่ในปริมาตรขนาดเล็ก แรงโน้มถ่วงของมวลเหล่านี้จะมีมากพอที่จะดูดทุกอย่างเข้าไปภายใต้แรงโน้มถ่วงของมันได้ เปรียบเทียบกันแล้ว บนพื้นโลกของเรามีความเร็วหลุดพ้น 11.2 กม./วินาที นั่นหมายความว่าหากเรายิงกระสุนที่ความเร็ว 11.2 กิโลเมตรต่อวินาทีจากพื้นโลก

กระสุนนี้จะหลุดพ้นออกไปจากแรงโน้มถ่วงของโลกได้และไม่ตกกลับลงมาอีก และหากเรายิงกระสุนออกไปด้วยความเร็วที่ต่ำกว่านี้ กระสุนก็จะใช้เวลาสักพักหนึ่งในอากาศก่อนที่จะตกกลับมาใหม่ สำหรับหลุมดำแล้วนั้นแรงโน้มถ่วงนั้นมีค่าสูงมากเสียจนความเร็วหลุดพ้นจากบริเวณที่เรียกว่า “ขอบฟ้าเหตุการณ์” (Event Horizon) มีค่าเท่ากับความเร็วของแสง ซึ่งเป็นความเร็วที่สูงที่สุดในเอกภพ

หมายความว่าไม่มีวัตถุใดแม้กระทั่งแสงจะสามารถหลุดพ้นออกมาจากหลุมดำได้ แม้กระทั่งเราฉายไฟฉากออกมาจากภายใน Event Horizon อนุภาคของแสงที่ออกมาก็ไม่สามารถหลุดออกมาจากแรงโน้มถ่วงของมันได้

CERN

เซิร์น เป็นชื่อย่อที่มาจากอักษรตัวแรกของชื่อเต็มที่เป็นภาษาฝรั่งเศสว่า Conseil Européen pour la Recherche Nucléaire (CERN) หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า European Council for Nuclear Research แปลเป็นไทยว่า ที่ประชุมแห่งยุโรปเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์ โดยในปี พ.ศ. 2492 ลูอิส เดอ บรอยล์ (Louis de Broglie) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสได้เสนอแนวความคิดริเริ่มของการก่อตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยแห่งยุโรป และในปี พ.ศ. 2495 ได้มีการลงนามร่วมกันจัดตั้งอย่างเป็นทางการโดย 11 ประเทศในยุโรป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นองค์กรระหว่างประเทศในยุโรปเพื่อการวิจัยฟิสิกส์พื้นฐานระดับโลก เซิร์นตั้งอยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ครอบคลุมพื้นที่บริเวณชายแดนระหว่าง ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และฝรั่งเศส

 

  1. เส้นสีขาวจากเครื่องบิน

เส้นขาวๆ ที่ลากยาวบนท้องฟ้า เมื่อเครื่องบินบินผ่านนั้น เราเรียกว่า Aircraft condensation trails หรือ “contrails” ซึ่งมาจากคำว่า condensation (การควบแน่น) กับ trail (ร่องรอย) ค่ะ contrail มักจะเกิดขึ้นในวันที่มีความชื้นสูง เมฆมาก หรือฝนเพิ่งตก เกิดขึ้นได้ 2 กรณี อย่างแรกคือ เกิดจากความร้อนหรือไอเสียของเครื่องยนต์ไปเพิ่มปริมาณความชื้น ทำให้น้ำที่มีอยู่ในอากาศผ่านจุดอิ่มตัว แล้วเกิดการควบแน่นกลายเป็นไอสีขาว เช่นเดียวกับเวลาที่อากาศหนาวๆแล้วเราหายใจออกมาเป็นไอสีขาว หรืออาจจะเกิดจากการที่ปีกของเครื่องบินก่อให้เกิดความแตกต่างของความดันอากาศ เครื่องบินบินเร็วและสูง เมื่ออยู่ที่สูงความดันอากาศลด อุณหภูมิก็จะลดตาม ทำให้น้ำในอากาศควบแน่นกันจนกลายเป็น contrail ขึ้นมา

 

  1. พัวพันเชิงควอนตัม

การพัวพันเชิงควอนตัม (Quantum Entanglement) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อคู่หรือกลุ่มของอนุภาค (particles) ได้ถูกสร้างหรือทำปฏิกิริยาในเชิงของสถานะควอนตัม (quantum state) สถานะควอนตัมของแต่ละอนุภาคไม่สามารถอธิบายได้ว่าจะเป็นไปโดยอิสระจากอนุภาคอื่น ๆ แม้ว่าอนุภาคเหล่านั้นจะถูกแยกออกในระยะห่างที่มาก ดังนั้นสถานะควอนตัมจำเป็นต้องอธิบายเป็นลักษณะของทั้งระบบ

 

  1. ปรากฎการณ์ มิราจ

มิราจ (Mirage) คือการเกิดภาพลวงตาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการหักเหของแสง จากการที่ชั้นของอากาศที่แสงเดินทางผ่านถึงมีอุณหภูมิต่างกัน โดยมักจะพบได้บ่อยในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด มักจะเกิดตามท้องถนน ทะเลทราย หรือบริเวณที่อากาศร้อนมาก ๆ

ทางวิทยาศาสตร์ได้อธิบายเหตุการณ์นี้ว่า การที่อากาศร้อนจัด ทำให้ผิวถนนเกิดความร้อนและส่งผลให้ชั้นอากาศที่อยู่เหนือผิวถนนแผ่ความร้อนตามขึ้นมาด้วย จนเกิดเป็นชั้นอากาศร้อนและชั้นอากาศเย็นที่แบ่งตัวกันอย่างชัดเจน

โดยชั้นอากาศเย็นจะมีความหนาแน่นกว่าชั้นอากาศที่ร้อน เมื่อแสดงเดินทางผ่านจากอากาศเย็นมาเจอชั้นอากาศที่ร้อนจึงเกิดการหักเห ทำให้เกิดการสะท้อน ส่วนหนึ่งปรากฏเป็นภาพวัตถุข้างหน้าตามปกติ อีกส่วนเกิดการโค้งและสะท้อนภาพเดิมซ้ำ ทำให้เรามองเห็นเป็นกระจก หรือเป็นภาพแอ่งน้ำบนถนนนั่นเอง โดยปรากฏการณ์นี้อาจเกิดขึ้นได้ในหลายสถานการณ์ เช่น การเห็นภาพกลับหัว หรือโอเอซิสในทะเลทราย

 

  1. ทำไมท้องฟ้าสีฟ้า

ท้องฟ้าเป็นสีฟ้านั้นเกิดจากการกระเจิงแสงของโมเลกุลในชั้นบรรยากาศของโลก โดยเมื่อแสงขาวจากแสงแดดผ่านเข้ามายังชั้นบรรยากาศของโลกจะกระทบกับโมเลกุลแก๊ส และเกิดการกระเจิงแสงของโมเลกุล

เมื่อลำแสงจากดวงอาทิตย์ ผ่านบรรยากาศเข้ามาตรงศีรษะ หรือเกือบตรงศีรษะ แสงที่เดิมทีเป็นสีขาวก็แยกตัวออกด้วยการกระเจิงกลายเป็นมีสีฟ้ามากกว่าสีอื่นๆ เพราะโมเลกุลของก๊าซในบรรยากาศของเราจะกระเจิงแสงสีฟ้าได้ดีกว่า โดยเฉพาะโมเลกุลของก๊าซอ๊อกซิเจน และไนโตรเจน จะกระเจิงแสงสีฟ้าได้ดีกว่าสีแดงที่มีความยาวคลื่นมากกว่าสีฟ้า แสงที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าจะกระเจิง (Scattering) ได้ดีในชั้นบรรยากาศ

สียิ่งมีความยาวคลื่นสั้นก็ยิ่งจะกระเจิงแสงได้ดี และแสงสีฟ้านี่เองกระเจิงได้มากถึง 10 เท่าของสีแดง และนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมท้องจึงเป็นสีฟ้า

 

  1. วัคซีน Covid

วัคซีนที่เกี่ยวกับโควิด-19 จะแบ่งออกเป็น 4  ชนิด

1. mRNA Vaccine ย่อมาจากmessenger Ribonucleic Acid หรือวัคซีนชนิดสารพันธุกรรม วัคซีนกลุ่มนี้ ใช้เทคโนโลยีใหม่สังเคราะห์สารพันธุกรรมเอ็มอาร์เอ็นเอ (messenger RNA: mRNA) ที่เฉพาะเจาะจงกับเชื้อไวรัสแวัคซีนที่มีใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ วัคซีนของบริษัท Pfizer และ Moderna ซึ่งปัจจุบันวัคซีน mRNA ถือเป็นวัคซีนโควิด-19 ที่ทั่วโลกนิยมใช้มากที่สุด

2.วัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ Recombinant Viral vectorvaccine เป็นวัคซีนโควิด-19 ที่ใช้ไวรัสตัวอื่นเป็นพาหะ แล้วฉีดเข้าไปในร่างกายมนุษย์ พัฒนาโดยการนำไวรัสที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลงแล้ว หรือไม่สามารถแบ่งตัวได้อีกมาตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อใช้เป็นพาหะ แล้วฝากสารพันธุกรรมของโควิด-19 เข้าไป ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา ซึ่งเทคนิคนี้เป็นวิธีที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี เนื่องจากเลียนแบบการติดเชื้อที่ใกล้เคียงธรรมชาติ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ AstraZeneca (แอสตร้าเซนเนก้า) ,บริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน

3.วัคซีนที่ทำจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein subunit vaccine) เป็นวัคซีนที่เลียนแบบสไปรท์​โปรตีน หรือหนามแหลมของไวรัส โดยอาศัยสื่งมีชีวิตอื่นสร้างขึ้นมา เช่น แบคทีเรีย ยีสต์ หรือพืช วัคซีนที่ผลิตโดยเทคโนโลยีนี้ ทั่วโลกมีความคุ้นเคยมานาน เพราะใช้ในการผลิตวัคซีนหลายชนิด เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น

4.วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccine) วัคซีนกลุ่มนี้ผลิตโดยนําไวรัสโรคโควิด19 มาเลี้ยงขยายจํานวนมาก และนํามาทำให้เเชื้อตาย การฉีดวัคซีนจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสทุกส่วน เสมือนได้รับเชื้อไวรัสโดยตรงแต่ไม่ทำให้เกิดโรค แต่เนื่องจากการเพาะเลี้ยงไวรัสต้องใช้ความระมัดระวังมาก ทําให้ผลิตได้ช้าและมีราคาแพง

 

  1. Nuclear

พลังงานนิวเคลียร์ หรือ พลังงานปรมาณู (อังกฤษ: nuclear power, nuclear energy) เป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่ได้จากการคายความร้อนในปฏิกิริยานิวเคลียร์ เพื่อประโยชน์ในการสร้างความร้อนและผลิตไฟฟ้า นิวเคลียร์ เป็นคำคุณศัพท์ของคำว่า นิวเคลียส ซึ่งเป็นแก่นกลางของอะตอมธาตุ ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคโปรตอน และนิวตรอน ซึ่งยึดกันได้ด้วยแรงของอนุภาคไพออน แบ่งเป็น

1.พลังงานนิวเคลียร์แบบฟิซชั่น (Fission) ซึ่งเกิดจากการแตกตัวของนิวเคลียสธาตุหนัก เช่น ยูเรเนียม พลูโทเนียม เมื่อถูกชนด้วยนิวตรอนหรือโฟตอน

2.พลังงานนิวเคลียร์แบบฟิวชั่น (Fusion) เกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียสธาตุเบา เช่น ไฮโดรเจน

3.พลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี (อังกฤษ: Nuclear Decay) ซึ่งให้รังสีต่างๆ ออกมา เช่น อัลฟา เบตา แกมมา และนิวตรอน เป็นต้น

4.พลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดจากการเร่งอนุภาคที่มีประจุโดยเครื่องเร่งอนุภาค เช่น อิเล็กตรอน โปร ตอน ดิวทีรอน และอัลฟา เป็นต้น

 

  1. ควอนตัม คอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ธรรมดาที่เราใช้งานกันทั่วไป จะมีการประมวลผลบนระบบเลขฐานสอง (Binary Digits หรือหน่วย Bits) รูปแบบข้อมูลที่ถูกป้อนเข้าไปจะมีเพียง 0 และ 1 เท่านั้น ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน กำลังของคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันอยู่อาจไม่เพียงพอต่องานประมวลผลที่ซับซ้อนและมขนาดใหญ่ ดังนั้น จึงมีการพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์ขึ้นมา

Quantum Computer คือระบบคอมพิวเตอร์ที่ขับเคลื่อนด้วยหน่วยประมวลผล ที่ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้ทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์ โดยควอนตัมคอมพิวเตอร์นั้นจะใช้หน่วยที่เรียกว่า Qubit (Quantum Bit) ซึ่งสามารถประมวลผลข้อมูลได้หลายสถานะในตำแหน่งเดียว

 

  1. อาวุธไฮเปอร์โซนิค

อาวุธไฮเปอร์โซนิก หรืออาวุธความเร็วเหนือเสียง (Hypersonic Weapon) บินด้วยความเร็วอย่างน้อย 5 มัค (Mach) มีความคล่องตัว สามารถหลบหลีกและเปลี่ยนวิถีระหว่างการบิน พวกมันแตกต่างจากขีปนาวุธทิ้งตัว (Ballistic Missile) ซึ่งสามารถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเหนือเสียง (อย่างน้อย 5 มัค) เช่นกัน แต่ขีปนาวุธจะเคลื่อนที่ไปตามแนววิถีโค้ง อีกทั้งมีความคล่องตัวที่จำกัด

 

  1. Hyperloop

Hyperloop คือเทคโนโลยีการคมนาคมขนส่งแห่งโลกอนาคต ด้วยการเดินทางผ่านท่อสุญญากาศ โดยมีพาหนะที่เรียกว่า pod หรือแคปซูล ซึ่งขับเคลื่อนด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า(magnetic levitation – Maglev) เดินทางไปยังจุดหมายที่ต้องการ โดย Pod จะเดินทางไปด้วยความเร็วสูงสภาพแวดล้อมที่มีแรงดันต่ำและแรงเสียดทานต่อ ทำให้ในทางทฤษฎี มีการคาดการณ์ระยะเวลาการเดินทางไว้ที่ 1200 กิโลเมตร / ชั่วโมง เลยทีเดียว

  1. ภาวะโลกร้อน

ภาวะโลกร้อน หมายถึงการที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นอากาศใกล้ผิวโลก หรือน้ำในมหาสมุทร เกิดจากก๊าซบางชนิดสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศมากเกินความสมดุลเนื่องจากในการอุตสาหกรรมและการดำเนินชีวิตมนุษย์มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งรวมคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ สาร CFCs (Chlorofluorocarbons) ที่ใช้กับตู้เย็น การรั่วไหลของสารทำความเย็นในระบบปรับอากาศ (R-22) การผลิตพลาสติกและอุตสาหกรรม ที่ต้องใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล (น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน) ควันจากโรงงาน จากท่อไอเสีย สเปรย์กระป๋อง การตัดไม้ทำลายป่า ฯลฯ ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้นเป็นสาเหตุสำคัญของวิกฤตการณ์โลกร้อน

 

  1. พายุสุริยะ

พายุสุริยะคือกระแสของอนุภาคพลังงานสูงที่พัดมาจากดวงอาทิตย์ด้วยปริมาณและความเร็วสูงกว่าระดับปกติ อนุภาคนี้มีทั้งอิเล็กตรอนและโปรตอน เป็นตัวการทำให้เกิดแสงเหนือใต้ และพายุแม่เหล็ก ซึ่งในกรณีที่รุนแรงก็อาจส่งผลต่อดาวเทียม ยานอวกาศ และระบบสายส่งบนโลก

 

  1. Starlink

Starlink คือ บริษัทผู้ผลิตและให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet) เป็นโปรเจกต์ที่พัฒนาโดย SpaceX ของ Elon Musk โดยจะให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม และจะครอบคลุมการให้บริการไปทั่วโลก ซึ่งตัวดาวเทียมของ Starlink ได้ถูกปล่อยขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศที่ต่ำกว่าดาวเทียมของผู้ผลิตอื่น ๆ หรืออยู่ใกล้กับโลกมากกว่าดาวเทียมอื่น ๆ ถึง 60 เท่า ซึ่งมันจะส่งผลให้ตัว Starlink สามารถส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่เร็วแรง และมีค่า Latency ต่ำได้นั่นเอง

 

  1. หน่วย เมตร กรัม วินาที

เมตร อักษรย่อ ม. (meter, m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา  วินาที

เวลา 1 วินาที เกิดจากการแปลงความถี่ Resonance ของอะตอมซีเซียมที่ได้รับการกระตุ้นระดับพลังงานจากคลื่นไมโครเวฟ

กรัม นิยามในปี 2018 จากค่าคงที่ของพลังค์ ซึ่งอยู่ในหน่วยของกิโลกรัมใน วินาทีและเมตร ค่าคงที่ของพลังค์ h ถูกกำหนดให้เป็น 6.62607015×10−34 และเท่ากับหนึ่งกิโลกรัมเมตรกำลังสองต่อวินาที (kg⋅m2⋅s-1) ถึงกระนั้น มวลมาตรฐานสำหรับกิโลกรัมยังคงมีอยู่และใช้เป็นมาตรฐานรองสำหรับน้ำหนักกิโลกรัมและกรัม โดยในทางปฏิบัติทั้จะยึดค่าน้ำบริสุทธิ์หนึ่งลิตรมีมวลหนึ่งกิโลกรัม และน้ำบริสุทธิ์หนึ่งมิลลิลิตรมีมวลหนึ่งกรัม

 

  1. ไพไรไลซิส

กระบวนการไพโรไลซิส คือ กระบวนการทางเคมีความร้อนที่เปลี่ยนรูปของชีวมวล พลาสติก รวมถึงยางที่ใช้แล้ว เป็นเชื้อเพลิงที่มีค่าทางความร้อนสูงขึ้น ได้แก่ ถ่าน (charcoal) น้ำมัน (bio-oil) และก๊าซไม่กลั่นตัว (non-condensable gas) โดยให้ความร้อนที่อุณหภูมิปานกลาง 500-800 องศาเซลเซียส ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน โดยสัดส่วนของผลิตภัณฑ์จากกระบวนการไพโรไลซิสขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ สภาวะในการทำปฏิกิริยา ลักษณะของวัตถุดิบที่ใช้เป็นสารตั้งต้น ชนิดของเครื่องปฏิกรณ์ เป็นต้น

 

  1. เอมไซ์ย่อยพลาสติก

เมื่อช่วงต้นปี 2016 ที่ผ่านมา กลุ่มนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยไคโอ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเกียวโต ประเทศญี่ปุ่นได้ร่วมวิจัยและค้นพบแบคทีเรียชื่อ Ideonellasakaiensis 201-F6 ซึ่งสามารถย่อยสลายพลาสติก Polyethylene Terephthalate(PET) ได้ โดยใช ้เอนไซม์เพียง 2 ชนิด เท่านั้นคือ PETase และ MHETase ซึ่งใช้เวลาในการย่อยสลายเพียง 6 สัปดาห์ ถือเป็นระยะเวลาที่ใช ้ย่อยสลาย PET ที่สั้นที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ

 

  1. BCI (brain-computer interface)

BCI ย่อมาจาก Brain-Computer Interface หรือการติดต่อกันโดยตรงระหว่าง คลื่นสมองของเรา กับ เครื่องคอมพิวเตอร์ครับ ซึ่งบางสำนักอาจจะเรียกมันว่า BMI (Brain-Machine Interface) ก็ได้ อย่างที่เราอาจจะเคยเห็นการใช้เครื่องอ่านคลื่นสมอง เพื่อไปควบคุมการทำงานของอะไรบางอย่าง ในภาพยนตร์ Sci-fi เช่น การใช้ความคิด ควบคุมแขนกล หรือในห้องวิจัย ก็มีการฝังเครื่องอ่านคลื่นสมอง ให้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถขยับแขนขาด้วยตัวเองได้ และเครื่องนี้ก็จะคาดเดาสิ่งที่ผู้ป่วยคิดจะทำ เพื่อแปลงออกมาเป็นปฏิกริยาจริง ๆ ราวกับที่เราใช้สมองเราสั่งให้แขนหรือนิ้วมือของเราขยับได้นั่นเอง

 

  1. AI

ปัญญาประดิษฐ์  (AI : Artificial Intelligence)  คือเครื่องจักร (machine) ที่มีฟังก์ชันทีมีความสามารถในการทำความเข้าใจ เรียนรู้องค์ความรู้ต่างๆ อาทิเช่น การรับรู้ การเรียนรู้ การให้เหตุผล และการแก้ปัญหาต่างๆ เครื่องจักรที่มีความสามารถเหล่านี้ก็ถือว่าเป็น ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence)

 

AI ถูกจำแนกเป็น 3 ระดับตามความสามารถ ดังนี้

ปัญญาประดิษฐ์เชิงแคบ (Narrow AI ) หรือ ปัญญาประดิษฐ์แบบอ่อน (Weak AI) : คือ AI ที่มีความสามารถเฉพาะทางได้ดีกว่ามนุษย์ (เป็นที่มาของคำว่า Narrow (แคบ) ก็คือ AI ที่เก่งในเรื่องเเคบๆหรือเรื่องเฉพาะทางนั่นเอง) อาทิ เช่น AI ที่ช่วยในการผ่าตัด (AI-assisted robotic surgery) ที่อาจจะเชี่ยวชาญเรื่องการผ่าตัดกว่าคุณหมอยุคปัจจุบัน แต่แน่นอนว่า AI ตัวนี้ไม่สามารถที่จะทำอาหาร ร้องเพลง หรือทำสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากการผ่าตัดได้นั่นเอง ซึ่งผลงานวิจัยด้าน AI ณ ปัจจุบัน ยังอยู่ที่ระดับนี้

ปัญญาประดิษฐ์ทั่วไป (General AI ) : คือ AI ที่มีความสามารถระดับเดียวกับมนุษย์ สามารถทำทุกๆ อย่างที่มนุษย์ทำได้และได้ประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกับมนุษย์

ปัญญาประดิษฐ์แบบเข้ม (Strong AI ) : คือ AI ที่มีความสามารถเหนือมนุษย์ในหลายๆ ด้าน จะเห็นได้ว่าวิทยาการของมนุษย์ปัจจุบันอยู่ที่จุดเริ่มต้นของ AI เพียงเท่านั้น

 

  1. ดาวอังคาร

ดาวอังคาร  (Mars) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นอันดับที่ 4 ในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมด ดาวอังคารมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 เท่าของโลก  ดาวอังคารมีโครงสร้างภายในประกอบด้วยแก่นของแข็งมีรัศมีประมาณ 1,700 กิโลเมตร ห่อหุ้มด้วยชั้นแมนเทิลที่เป็นหินหนืดหนาประมาณ 1,600 กิโลเมตร และมีเปลือกแข็งเช่นเดียวกับโลก   ดาวอังคารมีสีแดงเนื่องจากพื้นผิวประกอบด้วยออกไซด์ของเหล็ก (สนิมเหล็ก)  พื้นผิวของดาวอังคารเต็มไปด้วยหุบเหวต่างๆ มากมาย หุบเหวขนาดใหญ่ชื่อ หุบเหวมาริเนอริส (Valles Marineris) มีความยาว 4,000 กิโลเมตร กว้าง 600 กิโลเมตร ลึก 8 กิโลเมตร  นอกจากนี้ดาวอังคารยังมีภูเขาไฟที่สูงที่สุดในระบบสุริยะชื่อ ภูเขาไฟโอลิมปัส (Mount Olympus) สูง 25 กิโลเมตร  ฐานที่แผ่ออกไปมีรัศมี 300 กิโลเมตร

 

  1. ไมโครพลาสติก

ไมโครพลาสติก (Microplastics) คือ อนุภาคพลาสติกที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร มักเกิดจากการย่อยสลายหรือแตกหักของขยะพลาสติกขนาดใหญ่ หรือเกิดจากพลาสติกที่มีการสร้างให้มีขนาดเล็ก เพื่อให้เหมาะกับวัตถุประสงค์การใช้งาน ส่วนใหญ่มีรูปร่างทรงกลม ทรงรี หรือบางครั้งมีรูปร่างไม่แน่นอน

โดยไมโครพลาสติกสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ Primary microplastics, Secondary microplastic

คอร์สแนะนำ

อย่างที่พี่บอกไปข้างต้นว่าพาร์ทนี้ค่อนข้างเป็นพาร์ทที่สำคัญ และต้องอาศัยความรู้รอบตัวจริงๆ ไม่จำเป็นต้องท่องจำ หรือแม่นโจทย์เลย แต่ความยากของมันคือเราไม่รู้เลยว่าในแต่ละปีเขาจะคัดเรื่องไหนมาออกบ้าง สิ่งที่ทำได้คือน้องๆ ต้องรู้ให้กว้าง รู้ให้มากที่สุด และเข้าใจแก่นของเรื่องนั้นจริงๆ

 

ซึ่งเนื้อหาในส่วนนี้ก็จะมีสอนใน คอร์สพิชิตวิศวะ TPAT3 ของพี่ด้วย แต่ในคอร์สจะไม่ใช่การบอกแค่หัวข้อแล้วให้น้องไปตามอ่านกันเอง แต่พี่จะมาช่วยอธิบายและเล่าให้เห็นภาพจนน้องสามารถเข้าใจเรื่องราวรอบตัวที่เกิดขึ้นพวกนี้ได้ทั้งหมด รับรองว่าจบคอร์สแล้วพื้นฐานฟิสิกส์แน่น ทำโจทย์คล่อง และได้รับความรู้รอบตัวไปเต็มๆ แน่นอนฮะ

กรกฎาคม 31, 2023